THE READING OF POPULATION SURVEY 2013
( การสํารวจการอ่านหนังสือของประชากร พ.ศ. 2556 )
Inspiration : แรงบันดาลใจ ?
สังคมไทยมีนิสัยรักการอ่านโดยเฉลี่ยต่อคนน้อยมาก จากสถิติการอ่านหนังสือของคนไทย
ในปี 2554 ประเทศเวียดนาม ประชาชนอ่านหนังสือเฉลี่ย 60 เล่ม ต่อปี , ประเทศสิงคโปร์ ประชาชนอ่านหนังสือเฉลี่ย 40-60 เล่มต่อปี และประเทศไทยของเรา ประชาชนอ่านหนังสือเพียง 2-5 เล่มต่อปีเท่านั้น
จากสถิติข้างต้นเราจะเห็นได้ว่า คนไทยอ่านหนังสือน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น เพราะธรรมชาติของคนไทยมีนิสัยที่ชอบพูด ชอบฟัง มากกว่า ชอบอ่าน ชอบเขียน อีกทั้งในสังคมโลกยุคปัจจุบันมีสื่อที่ทันสมัยอีกมากมาย จึงทำให้การอ่านของคนไทยยิ่งน้อยลง เช่น มี VCD DVD อินเตอร์เน็ต ฯลฯ
ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ได้เขียนในหนังสือของท่านว่า ใครสามารถเอาความรู้มาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาจะได้เปรียบกว่าคนอื่นๆ ดังนั้นการอ่านจึงมีความสำคัญอย่างมากในสังคมโลกยุคปัจจุบันและยุคอนาคต
แต่เป็นที่น่าเสียดายที่สังคมไทยและคนไทยยังให้ความสำคัญกับการอ่านน้อยมาก
สำหรับคุณประโยชน์ของการอ่านนั้นมีมากมาย 1. การอ่าน ทำให้เกิดความคิด คนที่อ่านหนังสือมากมักจะเป็นนักคิด อีกทั้งการอ่านยังทำให้เราสามารถคิดใคร่ครวญมากกว่าการฟัง
2. การอ่าน ช่วยในการสร้างสมาธิได้ดี คนที่อ่านหนังสือมักเป็นคนที่มีสมาธิ การอ่านจึงเป็นวิธีในการฝึกสมาธิอย่างหนึ่ง
3. การอ่าน ช่วยในการพัฒนาตนเอง คนที่อ่านหนังสือมากมักเป็นคนที่ชอบเรียนรู้ ชอบที่จะพัฒนาตนเอง
4. การอ่าน ช่วยให้เกิดการเพลิดเพลิน บางคนเมื่อทำงานเหนื่อย เกิดความเบื่อหน่ายในการทำงาน การอ่านหนังสือ ตลก หนังสือบันเทิง หนังสือนิยาย จะช่วยให้เกิดการเพลินเพลินได้อีกวิธีหนึ่ง
5. การอ่าน ช่วยในการสร้างแรงบันดาลใจ คนที่ประสบความสำเร็จมักชอบอ่านหนังสือ การอ่านหนังสือทำให้เขาเกิดความคิด เกิดแรงบันดาลใจ เกิดความมานะที่จะต่อสู้สิ่งต่างๆ
ดังนั้น คุณประโยชน์ของการอ่าน จึงเป็นการเปิดหน้าต่างให้เราพบโลกที่กว้างขึ้น เราสามารถรู้วัฒนธรรม ประเพณี ความเป็นอยู่ เรื่องราวของประเทศต่างๆ ของคนอีกซีกโลกหนึ่งก็ด้วยการอ่าน จงอ่านหนังสือมากๆ แล้วชีวิตของท่านจะเกิดการเปลี่ยนแปลง
เครดิต : ความสำคัญของการอ่านหนังสือ
กราฟแสดงร้อยละของประชากรอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปที่อ่านหนังสือนอกเวลาเรียน / นอกเวลาทำงาน
จำแนกตามประเภทของหนังสือที่อ่านและกลุ่มวัย พ.ศ. 2556
จำแนกตามประเภทของหนังสือที่อ่านและกลุ่มวัย พ.ศ. 2556
เหตุผลที่อ่านหนังสือ นอกเวลาเรียน / นอกเวลาทำงาน จำแนกตามกลุ่มวัย
เมื่อพิจารณาเหตุผลในการอ่านหนังสือของแต่ละกลุ่มวัย พบว่า มีความแตกต่างกัน คือ วัยเด็ก และวัยเยาวชน อ่านหนังสือเพื่อการศึกษามากที่สุด รองลงมา คืออ่านเพื่อเพิ่มพูนความรู้ สำหรับวัยอื่น อ่านหนังสือ เพราะต้องการทราบข้อมูลข่าวสาร เหตุผลรองลงมี มีความแตกต่างกันตามวัย โดยวัยทำงาน อ่านหนังสือเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ขณะที่วัยสูงอายุ อ่านเพราะสนใจ หรืออยากรู้
ร้อยละของประชากรอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปที่อ่านหนังสือนอกเวลาเรียน / นอกเวลาทำงาน
จําแนกตาม เหตุผลที่อ่านหนังสือ และกลุ่มวัย พ.ศ.2556
กราฟแสดงร้อยละของประชากรอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปที่อ่านหนังสือนอกเวลาเรียน / นอกเวลาทำงาน
จำแนกตามเหตุผลที่อ่านหนังสือ และกลุ่มวัย พ.ศ. 2556
เหตุผลที่ ( ไม่ ) อ่านหนังสือ นอกเวลาเรียน / นอกเวลาทำงาน จำแนกตามกลุ่มวัย
เมื่อพิจารณาสาเหตุที่ไม่อ่านหนังสือ มีความแตกต่างกันตามกลุ่มวัย คือวัยเด็กและวัยสูงอายุ ไม่อ่านหนังสือ เพราะอ่านหนังสือไม่ออกมากกว่าสาเหตุอื่น แต่ลำดับรองลงมามีความแตกต่างกัน คือวัยเด็กไม่อ่านหนังสือเพราะชอบดูโทรทัศน์ ส่วนวัยสูงอายุ ไม่อ่านหนังสือเพราะสายตาไม่ดีตามวัยที่สูงขึ้น สำหรับวัยเยาวชนและวัยทำงานไม่อ่านหนังสือ เนื่องจากชอบดูโทรทัศน์ และไม่มีเวลาอ่าน
Impact : ผลกระทบ ?
การไม่อ่านหนังสือ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการพัฒนาคุณภาพทรัพยากรของมนุษย์ของประเทศ เมื่ออ่านหนังสือน้อยลง จะทำให้เด็กขาดทักษะกระบวนการอ่าน ทำให้มีผลเสียตามมาเช่นอ่านหนังสื่อไม่คล่อง อ่านแล้วจับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านไม่ได้ ทำให้เด็กขาดการพัฒนาในเรื่องภาษา เด็กอาจจะได้รับรู้คำศัพท์สำนวนภาษาใหม่ๆ จากภาษาพูด แต่จะไม่เข้าใจความหมายและวิธีใช้ที่ถูกต้องตามกาลเทศะทางด้านวัฒนธรรม ทำให้เด็กถามอย่างเดียว ไม่นิยมหาวิธีแก้ปัญหา หรือค้นคว้าด้วยตัวเอง การไม่อ่านหนังสือ หรือฟังอย่างเดียวก็จะทำให้ขาดการคิดวิเคราะห์ ทำให้ความสามารถในการอ่านเขียน และคำนวณลดลง
Improve : พัฒนา ?
ควรมีการรณรงค์ให้คนรักการอ่านหนังสือ มีโครงการส่งเสริมการอ่าน จากการสํารวจความคิดเห็นของประชากรที่มีอายุต้ังแต่ 6 ปีขึ้นไป เก่ียวกับวิธีการรณรงค์ให้คนรักการอ่านหนังสือ
พบว่าวิธีการรณรงค์ที่ได้รับ การเสนอแนะมากที่สุด 5 ลําดับแรกคือ
1. หนังสือควรมีราคาถูกลง ( ร้อยละ 39.0 )
2. ปลูกฝังให้รักการอ่านผ่าน พ่อแม่ / ครอบครัว ( ร้อยละ26.3 )
3. ให้สถานศึกษา มีการรณรงค์ส่งเสริมการอ่าน ( ร้อยละ 25.2 )
4. ส่งเสริมให้มีห้องสมุด/ห้องสมุดเคลื่อนที่/มุมอ่านหนังสือในชุมชน/พื้นที่สาธารณะ (ร้อยละ25.2)
5. รูปเล่ม / เนื้อหาน่าสนใจ หรือใช้ภาษาง่าย ๆ ( ร้อยละ 23.2 )
กราฟแสดงความคิดเห็นของประชากร ที่มีอายุต้ังแต่ 6 ปีขึ้นไป
เก่ียวกับวิธีการรณรงค์ให้คนรักการอ่านหนังสือ
อ้างอิงข้อมูลจาก : สำนักงานสถิติแห่งชาติ